วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554

หน้าปก-โลโก้



รายงาน
วิชา  คอมพิวเตอร์
เรื่อง  ความรู้เกี่ยวกับกราฟฟิก
จัดทำโดย
1.นายธนินทร          ล้อมวนวงศ์    เลขที่ 12
2.นางสาวอริสรา     ชูเชิญ              เลขที่ 36
3. นางสาวศิรัญญา   บุญปั้น           เลขที่ 48
4. นางสาวธนภรณ์  ไชยูปถัมภ์      เลขที่ 60
มัธยมศึกษาปีที่ 4/3


เสนอ  ม.ณัฐพงศ์ หอมอ่อน
   ม.เดชา นันเปรย

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554
โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย  จังหวัดเชียงใหม่

คำนำ

คำนำ
            รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ซึ่งในรายงานฉบับนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับกราฟฟิก เพื่อให้ผู้อ่านได้ความรับความรู้ในเรื่องของประวัติความเป็นมาของกราฟฟิก , บทบาทและความสำคัญของกราฟฟิก , ความหมายเกี่ยวกับกราฟฟิก     ,  ประเภทของภาพกราฟิก ,  หลักการทำงานและการแสดงผลของภาพกราฟฟิก , สีและแสงที่ใช้ในงานกราฟิก , ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก และ การประยุกต์ใช้งานกราฟิก อีกทั้งยังเพื่อใช้ในการต่อยอดในการออกแบบกราฟฟิก 2D   คณะผู้จัดทำหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน
                                                                                                                                                                คณะผู้จัดทำ

สารบัญ

สารบัญ
คำนำ                                                                                                                               
ประวัติความเป็นมาของกราฟฟิก                                                                                                                                
บทบาทและความสำคัญของกราฟฟิก                                                                                                                    
ความหมายเกี่ยวกับกราฟฟิก                                                                                                                                     
ประเภทของภาพกราฟิก                                                                                                                                           
หลักการทำงานและการแสดงผลของภาพกราฟฟิก                                                                                            
สีและแสงที่ใช้ในงานกราฟิก                                                                                                                                   
ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก                                                                                                                                   
การประยุกต์ใช้งานกราฟิก                                                                                                                                       
บรรณานุกรม                                                                                                                                                                  

ความเป็นมาของกราฟฟิก

ความเป็นมาของกราฟฟิก
ประวัติความเป็นมา
             งานกราฟิก มีประวัติความเป็นมาตามหลักฐานในอดีต เมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการขีดเขียน ขูด จารึกเป็นร่องรอย ให้ปรากฏเป็นหลักฐานในปัจจุบัน การออกแบบกราฟิกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จึงเป็นการเริ่มต้นการสื่อความหมายด้วยการวาดเขียน ให้ผู้อ่านตีความหมายได้ เรียกว่า Pictogram เช่นภาพคน ภาพสัตว์ ต้นไม้ ไว้บนผนังหรือบนเพดานถ้ำ และมีการแกะสลักลงบนเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ ซึ่งใช้วิธีการวาดอย่างง่ายๆไม่มีรายละเอียดมาก     ต่อมาประมาณ 9000 ปี ก่อนคริสตกาล ชาว Sumerien ในแคว้นเมโสโปเตเมีย ได้เริ่มเขียนตัวอักษรรูปลิ่ม (Cuneiform) และตัวอักษร Hieroglyphic ของชาวอียิปต์ งานกราฟิกเริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้น เมื่อได้คิดค้นกระดาษและวิธีการพิมพ์ ปี ค.ศ.1440 Johann Gutenberg ชาวเยอรมัน ได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์แบบตัวเรียง ที่สามารถพิมพ์ได้หลายครั้ง ครั้งละจำนวนมากๆ
              ในปี ค.ศ.1950 การออกแบบได้ชื่อว่าเป็น Typographical Style เป็นการพัฒนาโดยนักออกแบบชาวสวิส ได้นำวิธีการจัดวางตัวอักษรข้อความและภาพเป็นคอลัมน์ มีการใช้ตารางช่วยให้อ่านง่ายมีความเป็นระเบียบ สวยงาม มีการจัดแถวของข้อความแบบชิดขอบด้านหน้าและด้านหลังตรงเสมอกัน   ตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา การออกแบบกราฟิก ได้พัฒนาและขยายขอบเขตงานออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดอยู่แต่ในสิ่งพิมพ์เท่านั้น โดยได้เข้าไปอยู่ในกระบวนการสื่อสารอื่นๆเช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ การถ่ายภาพ โปสเตอร์ การโฆษณา ฯลฯ  การออกแบบกราฟิกปัจจุบัน เป็นยุคของอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ได้นำเครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ วัสดุสำเร็จรูป มาช่วยในการออกแบบกราฟิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ ( Computer Graphics ) มีโปรแกรมด้านการจัดพิมพ์ตัวอักษรที่นิยมกันมากคือ Microsoft Word สามารถจัดเรียง วางรูปแบบ สร้างภาพ กราฟ แผนภูมิ จัดการและสร้างสรรค์ตัวอักษร โปรแกรมอื่นๆที่สนับสนุนงานกราฟิกอีกมากมาย เช่น Adobe Photoshop / Illustrator / PageMaker / CorelDraw / 3D Studio / LightWave 3D / AutoCad ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมที่ช่วยให้สามารถสร้างสรรค์งานกราฟิกบนเว็บ อีกมากเช่น Ulead Cool / Animagic GIF / Banner Maker เป็นต้น
              ปัจจุบันงานคอมพิวเตอร์กราฟิก จึงเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบ การออกแบบและสร้างสรรค์งานกราฟิกอย่างกว้างขวาง เนื่องจากให้ความสะดวก รวดเร็ว แก้ไขงาน ทำซ้ำงานทำได้ง่าย ตลอดจนการสั่งพิมพ์ หรือบันทึกเพื่อการพกพาในรูปแบบอื่นๆได้หลายวิธี

บทบาทและความสำคัญของกราฟฟิก

บทบาทและความสำคัญของกราฟฟิก
           งานกราฟิกต่าง ๆ  ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนแก่นสารของประสบการณ์สำหรับมนุษย์เพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นสื่อในการคิดและสื่อสารความหมายถึงกัน ด้วยคุณสมบัติที่ดีของงานกราฟิกทำให้งานกราฟิกมีบทบาทสำคัญในการลดข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนเวลา  ประสิทธิภาพของการคิด   การบันทึกและการจำ  ทำให้การสื่อความหมายต่อกันของมนุษย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  และด้วยความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ   ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นและความเป็นโลกไร้พรมแดน  ความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้มนุษย์จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับงานกราฟิกมากขึ้น
1)        ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ  
               มนุษย์ประสบความสำเร็จในการค้นพบความจริง และกระบวนการทางธรรมชาติมากมาย ความรู้ที่ค้นพบใหม่นี้  ต้องการวิธีการและกระบวนการในการเก็บบันทึก  การจำ  และเผยแพร่  การใช้งานกราฟิกช่วยจะทำให้ได้ข้อมูลที่สามารถสื่อสารความหมายให้เข้าใจได้ง่ายและรวดเร็วสื่อความคิดถึงกันและกันได้ชัดเจนถูกต้อง  เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน
      2)  ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี 
            เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ทำให้เกิดเครื่องมือสำหรับสร้างงานกราฟิกที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น สามารถผลิตงานได้ รวดเร็ว  มีปริมาณมาก  ง่ายต่อการใช้งาน  ราคาถูกลง และเผยแพร่ได้สะดวกกว้างไกล โดยเฉพาะการใช้คอมพิวเตอร์ในงานกราฟิกและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ความนิยมใช้งานกราฟิกช่วยในการสื่อความหมายจึงเกิดขึ้นแพร่หลายในสื่อเกือบทุกประเภท
     3)  จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น และความเป็นโลกที่โลกไร้พรมแดน 
            ประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การคมนาคมที่สามารถเดินทางไปทั่วทุกมุมโลกด้วยเวลาไม่มากนัก และ การสื่อสารที่มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วโลก  ทำให้เกิดความจำเป็นต่อการสื่อความหมายทางไกลระหว่างบุคคลและการสื่อความหมายกับประชากรกลุ่มใหญ่ในมุมต่าง ๆ ของโลก  เพื่อดำเนินการถ่ายทอดความรู้  แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม  ความร่วมมือทางวิชาการ  ธุรกิจ และอื่น ๆ ทุกสิ่งทุกอย่างต้องดำเนินการด้วยข้อจำกัดของเงื่อนเวลาและประสิทธิภาพของการสื่อความหมาย งานกราฟิกจึงเป็นเครื่องผ่อนแรงให้การสื่อความหมาย  สามารถสื่อสารได้เข้าใจง่ายและถูกต้องในเวลาสั้น
     4)  ความแตกต่างระว่างบุคคล 
          บุคคลแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านต่าง ๆ เช่น ความคิดความเข้าใจ  ความสามารถ  อัตราการเรียนรู้  วิธีการเรียนรู้ และอื่น ๆ ความแตกต่างเหล่านี้ทำให้การสื่อความหมายด้วยภาษาพูดและภาษาเขียนในบางครั้งไม่สามารถสร้างความเข้าใจได้ง่ายนัก

ความหมายของ กราฟฟิก

ความหมายของ กราฟฟิก
                “กราฟิก” เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikos และ Graphein ซึ่ง Graphikos หมายถึงการเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำ และคำว่า Graphein มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น เมื่อรวมทั้งคำทั้งสองเข้าด้วยกัน  วัสดุกราฟิกจะหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และอักษรข้อความรวมกัน ภาพวาดอาจจะเป็น แผนภาพ ภาพสเก็ต หรือแผนสถิติ หรืออาจเป็นคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง   คำอธิบายเพิ่มเติมของแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ และภาพโฆษณา อาจวาดเป็นการ์ตูนในรูปแบบหรือประเภทต่างๆ ภาพสเก็ต สัญลักษณ์ และภาพถ่าย สามารถใช้เป็นวัสดุกราฟิกเพื่อสื่อความหมายในเรื่องราวที่แสดงข้อเท็จจริงต่าง ๆได้ วัสดุกราฟิกทางการศึกษา เป็นสื่อการสอนที่สื่อถึงเรื่องราวต่าง ๆ โดยใช้เส้น ภาพวาดและสัญลักษณ์ ที่ใกล้เคียงความเป็นจริง แทนคำพูดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของแผนที่ แผนภาพ ภาพโฆษณา การ์ตูน และแผนสถิติ ฯลฯ

ประเภทของภาพกราฟิก

ประเภทของภาพกราฟิก
1.           ภาพราสเตอร์ (Raster )
               หรือเรียกว่าภาพแบบ Bitmap ก็ได้ เป็นภาพที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ว่าพิกเซล (pixels)  ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพน้อย เวลาขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น จะมองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพมาก ก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่  ดังนั้นการกำหนดจำนวนพิกเซลต้องให้เหมาะกับงานที่จะสร้าง

     ตัวอย่าง

               -  ภาพใช้งานทั่ว ๆไป ให้กำหนดพิกเซล ประมาณ 100-150 Pixel
               -  ภาพที่ใช้บนเว็บไซต์ ให้กำหนดพิกเซล ประมาณ 72 Pixel
               -  ถ้าเป็นภาพแบบงานพิมพ์ เช่น นิตยสาร โปสเตอร์ขนาดใหญ่
                  จะกำหนดพิกเซลประมาณ 300-350 Pixel
    ข้อดีของภาพชนิด Raster
               -  สามารถแก้ไขปรับแต่งได้
               -  ตกแต่งภาพได้ง่ายและสวยงาม

    นามสกุลที่ใช้เก็บภาพแบบ Raster


นามสกุลที่ใช้เก็บ
ลักษณะงาน
โปรแกรมที่ใช้สร้าง
.JPG, JPEG, JPE,.GIF
ใช้สำหรับรูปภาพทั่วไป งานเว็บเพจ และงานที่มีความจำกัดด้านพื้นที่หน่วยความจำ
โปรแกรม Photoshop, PaintShopPro , Illustrator
.TIFF , TIF
เหมาะสำหรับงานด้านนิตยสาร เพราะมีความละเอียดของภาพสูง
.BMP , DIB
ไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการ
วินโดว์
โปรแกรม PaintShopPro , Illustrator

      

2.           ภาพแบบ Vector
               เป็นภาพที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพไม่ลดลง แฟ้มภาพมีขนาดเล็กกว่าภาพแบบ Raster
      
       ข้อดีของภาพชนิด Vector
       -  นิยมนำไปใช้ในด้านสถาปัตย์ตกแต่งภายในและการออกแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก้ การสร้างการ์ตูน

      โปรแกรมที่นิยมนำมาสร้างภาพแบบ Vector
        โปรแกรม Illustrator
        -  CorelDraw
        -  AutoCAD
        -  3Ds max ฯลฯ

      นามสกุลที่ใช้เก็บภาพแบบ Vector


นามสกุลที่ใช้เก็บ
ลักษณะงาน
โปรแกรมที่ใช้สร้าง
.AI,.EPS
ใช้สำหรับงานที่ต้องการความละเอียดของภาพมาก เช่น การสร้างการ์ตูน การสร้างโลโก เป็นต้น
โปรแกรม Illustrator
.WMF
ไฟล์มาตรฐานของระบบปฏิบัติการ
วินโดว์
โปรแกรม CorelDraw

หลักการทำงานและการแสดงผลของภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก

หลักการทำงานและการแสดงผลของภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก


     ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วย สีแดง (Red) สีเขียว (Green) และสีน้ำเงิน (Blue) โดยใช้หลักยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สีมาผสมกัน ทำให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) ซึ่งมาจากคำว่า Picture กับ Element โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี เมื่อนำมาวางต่อกันจะเกิดเป็นรูปภาพ ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 2 ประเภท คือ แบบ Raster กับ Vector

 หลักการของกราฟิกแบบ Raster
              หลักการของภาพกราฟิกแบบ Raster หรือแบบ Bitmap เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจาก การเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดเล็กๆ นี้ว่า พิกเซล(Pixel) ในการสร้างภาพกราฟิกแบบ Raster จะต้องกำหนดจำนวนของพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการ สร้าง ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้มองเห็นภาพ เป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลมากก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่ ดังนั้นการกำหนดพิกเซล จึงควรกำหนดให้เหมาะสมกับงานที่สร้าง คือถ้าต้องการใช้งานทั่วๆ ไปจะกำหนดพิกเซลประมาณ 100 – 150 ppi (Pixel/inch) “จำนวนพิกเซลต่อ 1 ตารางนิ้วถ้าเป็นงานที่ต้องการความละเอียดน้อยและแฟ้มภาพมีขนาดเล็ก เช่น ภาพสำหรับใช้กับเว็บไซต์ จะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 72 ppi และถ้าเป็นแบบงานพิมพ์ เช่นนิตยสาร โปสเตอร์ ขนาดใหญ่จะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 300 – 350 เป็นต้น 
                  ข้อดีของภาพกราฟิกแบบ Raster คือ สามารถแก้ไขปรับแต่งสี ตกแต่งภาพได้ง่ายและ สวยงาม ซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพกราฟิกแบบ Raster คือ Adobe Photoshop, Adobe PhotoshopCS, Paint เป็นต้น
                  ภาพแบบ Raster ส่วนใหญ่จะเรียกอีกอย่าง ภาพบิตแมพ (Bitmap) มักนิยมใช้กับ ภาพถ่าย หรือภาพวาด เพราะสามารถใส่โทนสีของภาพได้เหมือนจริง แต่ข้อเสียของภาพแบบ Raster ก็คือเมื่อมีการขยายภาพมากๆ ซึ่งขนาดของ Pixel ก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้เห็นภาพ ไม่ละเอียดเป็นขอบหยักๆ
 
หลักการของกราฟิกแบบ Vector
                          หลักการของกราฟิกแบบ Vector เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพจะไม่ลดลง แฟ้มจะมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector นิยมใช้เพื่องานสถาปัตย์ตกแต่งภายใน และการออกแบบต่างๆ เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก้ การสร้างการ์ตูน เป็นต้น

สีในงานคอมพิวเตอร์กราฟิก

สีในงานคอมพิวเตอร์กราฟิก
สีในงานคอมพิวเตอร์กราฟิก   
สีที่ใช้ในงานด้านกราฟิกทั่วไปมี
4 ระบบ คือ
1. RGB         2.CMYK

3. HSB          4. LAB
             1.RGB color
เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี 3 สีคือ แดง (Red), เขียว (Green) และสีน้ำเงิน (Blue) เมื่อนำมาผสมกันทำให้เกิดสีต่างๆ บนจอคอมพิวเตอร์มากถึง 16.7 ล้านสี ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นปกติ สีที่ได้จากการผสมสีขึ้นอยู่กับความเข้มของสี โดยถ้าสีมีความเข้มข้นมาก เมื่อนำมาผสมกันจะทำให้เกิดเป็นสีขาว จึงเรียกระบบสีนี้ว่า แบบ Additive หรือการผสมสีแบบบวก


2.CMYK color
เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษหรือวัสดุผิว เรียกอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วยสีหลัก 4 สีคือ สีฟ้า (Cyan), สีม่วงแดง (Magenta), สีเหลือง (Yellow), และสีดำ (Black) เมื่อนำมาผสมกันจะเกิดสีเป็นสีดำแต่จะไม่ดำสนิทเนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่ บริสุทธิ์ จึงเป็นการผสมสีแบบลบ (Subtractive) หลักการเกิดสีของระบบนี้คือ หมึกสีหนึ่งจะดูดกลืนแสงจากสีหนึ่งแล้วสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่างๆ เช่น สีฟ้าดูดกลืนแสงของสีม่วงแล้วสะท้อนออกมาเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งจะสังเกตได้ว่าสีที่สะท้อนออกมาจะเป็นสีหลักของระบบ RGB การเกิดสีนี้ในระบบนี้จึงตรงข้ามกับการเกิดสีในระบบ RGB

3.HSB color
เป็นระบบสีแบบการมองเห็นของสายตามนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
Hue คือสีต่างๆ ที่สะท้อนออกมาจากวัตถุแล้วเข้าสู่สายตาของเรา ซึ่งมักเรียกสีตามชื่อสี เช่น สีเขียว สีแดง สีเหลือง เป็นต้น
     -Saturation คือความสดของสี โดยค่าความสดของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนด Saturation ที่ 0 สีจะมีความสดน้อย แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสดมาก
     -Brightness คือระดับความสว่างของสี โดยค่าความสว่างของสีจะเริ่มที่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 ความสว่างจะน้อยซึ่งจะเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 สีจะมีความสว่างมากที่สุด

4. LAB color
เป็นระบบสีที่ไม่ขึ้นกับอุปกรณ์ใด ๆ (Device Independent) โดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
“L” หรือ Luminance เป็นการกำหนดความสว่างซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100 ถ้ากำหนดที่ 0 จะกลายเป็นสีดำ แต่ถ้ากำหนดที่ 100 จะกลายเป็นสีขาว
“A” เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีเขียวไปสีแดง    “B” เป็นค่าของสีที่ไล่จากสีน้ำเงินไปสีเหลือง